ขั้นตอนการสำรวจเก็บแบบอาคารด้วยกล้อง 3D SCAN ทำอย่างไร มาดูกัน

How to do 3D SCAN? ก่อนทำการสำรวจเก็บแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ให้ทำการเดินสำรวจเส้นทางการวางตำแหน่งกล้อง ว่าจุดเริ่มต้นเริ่มตรงบริเวณใด และสิ้นสุดที่จุดใด

หลักการที่ทีมงาน 3DSurveyService.com แนะนำคือถ้าต้องการทำการเก็บข้อมูลทั้งภายในและภายนอก อาคารให้เริ่มทำจากภายในอาคารก่อน ถ้าเป็นอาคารสูง ให้คำนวณระยะที่สูงที่สุดของอาคารและพิจารณาเลือกรุ่นของกล้องให้สอดคล้องกับขนาด และความสูงของสิ่งที่ต้องการสแกนหน้างานเช่น อาคารสูง 100 เมตร เราเลือกกล้องที่มีความสามารถในการสแกนระยะ (Scanning range) 350 เมตร ก็จะเหมาะสม ฟาโร โฟกัส พรีเมี่ยม 350 (FARO FOCUS PREMIUM 350)

ขั้นตอนการสำรวจด้วยกล้องเลเซอร์สามมิติ

1..นำกล้องสแกนสามมิติ 3D LASER SCANNER เข้าสแกนพื้นที่ไซด์งาน

  • ติดตั้งตัวกล้องบนขาตั้งกล้องชนิดสามขาที่แข็งแรง TRIPOD
  • POWER ON
  • ตั้งชื่องาน เลือก Scanning Profile หรือค่าความสัมพันธ์ ระหว่างเวลาที่ใช้ทำการสแกนเก็บข้อมูลกับความหนาแน่นของกลุ่มข้อมูล Pointcloud (กล้องจะปรับไว้ที่ค่ามาตราฐาน เราสามารถปรับได้ตามต้องการ) กล่าวคือสแกนเร็วความหนาแน่นของ Pointcloud ของข้อมูลจะเบาบาง ถ้าสแกนใช้เวลานาน ความหนาแน่นของ Pointcloud จะสูง ไฟล์มีขนาดใหญ่
  • START SCAN

เพียงสี่ขั้นตอนด้านบนนี้เราสามารถทำงานสำรวจสามมิติด้วยกล้องฟาโร เลเซอร์สแกนได้แล้ว

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกล้องฟาโรเลเซอร์สแกนเนอร์

  • กล้องฟาโรสามารถทำงานกลางแดดและฝุ่นได้ ได้รับมาตราฐานIP54
  • แบตเตอรี่หนึ่งก้อนทำงานได้ประมาณ4-4.5ชั่วโมง ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง
  • ระวังการนำกล้องไปกระแทรก การชน การตกจากขาตั้งกล้องเด็ดขาด
  • การทำงานกลางแจ้งควรหลีกเลี่ยงวันที่ฝนตก ระวังกล้องเปียกน้ำหรือได้รับความชื้นสูง

2..วางแผนเส้นทางในการตั้งกล้องให้ครอบคลุม พื้นที่หรืออาคารที่เราต้องสแกนเก็บข้อมูล หลีกเลี่ยงการสแกนแบบที่ขาดข้อมูลของพื้นที่ Overlap ซึ่งกันและกัน

3..เราใช้อุปกรณ์ mark ตำแหน่งอ้างอิงคือ ลูกบอลทรงกลม Sphere ball เพื่อยึดพิกัดร่วมเดียวกันของข้อมูล Overlap areaจากตำแหน่งกล้องสแกนที่ต่อเนื่องกัน

4..เรื่มทำการสแกนตำแหน่งที่หนึ่ง กล้องสแกนใช้เวลา 10นาที สแกนเก็บข้อมูลรอบตัวกล้อง การทำงานของกล้องแบ่งเป็นสองรอบ รอบแรกคือการ Shoot LASER ออกไปเพื่อวัดระยะทางและเป็นค่าพิกัด x,y,z ที่ตกกระทบวัตถุ รอบที่สองคือการถ่ายภาพนิ่งเป็น Shot เพื่อเก็บสีนำมาเป็นสีของ Pointcloud model

5..ดำเนินการสแกนเก็บข้อมูลอาคารตำแหน่งต่างๆไปจนครบตามแผนที่เราวางแผนไว้ โดยการย้ายกล้องที่ละตำแหน่งต้องมีจุด Overlap กันอย่างน้อยสามจุด (จุดร่วมเช่น Sphere ball หรือ Check board) จนครอบคลุม พื้นที่หรือวัตถุที่เราต้องสแกนเก็บข้อมูลทั้งหมด

6..นำข้อมูลที่สแกนได้ไปทำ Pre-Process pointcloud data ด้วยโปรแกรม FARO SCENE จะได้ไฟล์ นามสกุล *.fls, *.Rcp, *.e57, *.Ptx พร้อมส่งต่อไฟล์ไปทำ Post-Process ในโปรแกรมอื่นๆ เช่นเขียนแบบต่อในโปรแกรม AutoDesk AutoCAD หรือ AutoDesk Revit

ในกรณีที่ทีมออกแบบทำงานด้วยโปรแกรมเขียนแบบของค่าย AutoDesk  เช่น AutoCAD 3D หรือ AutoDesk Revit สามารถนำข้อมูล Pointcloud data นามสกุล *.Rcp import เข้าไปใช้ในโปรแกรมได้เลย เป็นมาตราส่วน 1:1 สามารถเขียนแบบและออกแบบโมเดลสามมิติใหม่ได้เลย โดยใช้ Pointcloud เป็น Existing model และขึ้นรูป New 3D Model ได้เลยบน Alignment แกนเดียวกัน

การวางจุดอ้างอิง Sphere ball ของกล้องเลเซอร์สแกนสามมิติ
การวางจุดอ้างอิง Sphere ball ของกล้องเลเซอร์สแกนสามมิติ
กล้องเลเซอร์สแกนสามมิติของฟาโร สำรวจเก็บข้อมูลPointcloudแสงเลเซอร์เป็น Laser Class 1 ความยาวคลื่น 1553.5 nm มีความปลอดภัยในการใช้สำรวจอาคาร
การวางตำแหน่งของกล้องเลเซอร์สแกนสามมิติ ให้ครอบคลุมพื้นที่อาคารที่เราต้องการสำรวจเก็บข้อมูล

ให้คำปรึกษาการทำสำรวจ การเก็บข้อมูล การทำแบบ As-built อาคารด้วย ข้อมูลสำรวจ Pointcloud จากกล้อง 3D SCAN ครอบคลุมงาน

  • สำรวจอาคารทั่วไป
  • สำรวจโรงงาน โครงสร้างหลังคา สำรวจตำแหน่งเครื่องจักร
  • สำรวจอาคารอนุรักษ์ โบราณสถาน โบสถ์ วัด วิหาร เจดีย์
  • สำรวจอุโมงค์ สำรวจแนวถนน สำรวจ Landscape
  • สำรวจอาคารเก่า สำรวจโรงแรมเพื่อทำแบบก่อนการปรับปรุง
  • สำรวจโรงพยาบาลเพื่อทำแบบก่อนการปรับปรุง
  • สำรวจอพาร์ทเม้น สำรวจคอนโด เพื่อการ Renovation

ติดต่อ 093.198.0155