การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับอาคารเก่าโดยใช้ข้อมูลกลุ่มจุด 3มิติหรือ 3D Point cloud data มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มจุด 3มิติจากเครื่อง 3D Laser Scanner สร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำงานการสำรวจแบบสามมิติและเพื่อศึกษาหาจุดแข็งและจุดอ่อนในการใช้ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร การทดลองหรือ Case study เริ่มจากใช้กล้องสามมิติ 3D Laser Scanner ยี่ห้อ FARO Technologies รุ่น Focus S150 เก็บข้อมูลมิติอาคาร 2 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานครฯ ทั้งหมด 210 ตำแหน่งและนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลเป็นข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติ ด้วยโปรแกรม FARO SCENE SOFTWARE และนำมาสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารด้วยเขียนแบบ โปรแกรม Autodesk Revit 2024 ซึ่งผลจากการทดลองพบว่าเมื่อใช้ข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติหรือ 3D Point cloud model ในการสำรวจข้อมูลอาคารแล้วนำมาสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซ้อน
Category Archives: Blog
How to do 3D SCAN? ก่อนทำการสำรวจเก็บแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ให้ทำการเดินสำรวจเส้นทางการวางตำแหน่งกล้อง ว่าจุดเริ่มต้นเริ่มตรงบริเวณใด และสิ้นสุดที่จุดใด หลักการที่ทีมงาน 3DSurveyService.com แนะนำคือถ้าต้องการทำการเก็บข้อมูลทั้งภายในและภายนอก อาคารให้เริ่มทำจากภายในอาคารก่อน ถ้าเป็นอาคารสูง ให้คำนวณระยะที่สูงที่สุดของอาคารและพิจารณาเลือกรุ่นของกล้องให้สอดคล้องกับขนาด และความสูงของสิ่งที่ต้องการสแกนหน้างานเช่น อาคารสูง 100 เมตร เราเลือกกล้องที่มีความสามารถในการสแกนระยะ (Scanning range) 350 เมตร ก็จะเหมาะสม ฟาโร โฟกัส พรีเมี่ยม 350 (FARO FOCUS PREMIUM 350) ขั้นตอนการสำรวจด้วยกล้องเลเซอร์สามมิติ 1..นำกล้องสแกนสามมิติ 3D LASER SCANNER เข้าสแกนพื้นที่ไซด์งาน ติดตั้งตัวกล้องบนขาตั้งกล้องชนิดสามขาที่แข็งแรง TRIPOD POWER ON ตั้งชื่องาน เลือก Scanning Profile หรือค่าความสัมพันธ์ ระหว่างเวลาที่ใช้ทำการสแกนเก็บข้อมูลกับความหนาแน่นของกลุ่มข้อมูล Pointcloud (กล้องจะปรับไว้ที่ค่ามาตราฐาน เราสามารถปรับได้ตามต้องการ) กล่าวคือสแกนเร็วความหนาแน่นของ Pointcloud
การใช้กล้องสำรวจเลเซอร์สแกนสามมิติ (3D Scan) ยี่ห้อฟาโร กับทีมงานผู้มีประสบการณ์สำรวจเก็บข้อมูล Landscape สกายวอล์ค สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่วัดเขาทำเทียม ณ พุทธมณฑลสุพรรณบุรี ผามังกรบิน เป็นเขตโบราณสถาน เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแลนด์มาร์คสำคัญ เป็นที่ตั้งของพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ หรือหลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปแกะสลักจากหินหน้าผา มีความงดงามทางงานพุทธศิลป์ สูงตระหง่านสวยงาม SKYWALK สุพรรณบุรี ณ ขณะนี้ ถ้าก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์จะเป็นสกายวอล์คที่ยาวที่สุดในประเทศไทย การก่อสร้างใช้การเจาะยึดโครงสร้างรับน้ำหนักกับผนังหน้าผา โดยมีความยาวประมาณ 500 เมตร ความสูงเทียบเท่าตึก 12 ชั้น ทีมวิศวกรออกแบบโครงสร้างพบกับโจทย์ที่ยากและท้าทาย เพราะ SKYWALK แห่งนี้จะออกถูกแบบให้ไม่มีเสารับหนักน้ำที่ตั้งตรงเป็นฐานมาจากด้านพื้นล่างเหมือนทั่วไป เพราะเป็นเรื่องของความโล่งสายตาจากโครงสร้างหลัก แต่จะออกแบบส่วนของการรับน้ำหนัก ให้เป็นขายึดเกาะเข้ากับผนังของภูเขา โดยการใช้เครื่องเจาะหิน เจาะรูลึกเข้าไปในหน้าผา ทำมุมประมาณ 70องศา เจาะลึก 6เมตร ในชั้นหินที่มีความหนาแน่นสูง การเจาะยึดผนังเพื่อการรับแรง การเจาะหินหน้าผา 1 รูใช้เวลาครึ่งวัน หนึ่งวันทำงานได้ 2
กรณีศึกษา : การทำ 3D Laser Scan สำรวจอาคาร โรงงานเพื่อการปรับปรุงพื้นที่ฝ่ายผลิต ติดตั้งหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักรขนาดใหญ่ Case Study : Laser Scanning A Manufacturing Plant To Relocate Equipment สถานที่: สระบุรี, ประเทศไทย ภารกิจ: การสแกนด้วยเลเซอร์ 3 มิติจัดทำแบบแผนผังของโรงงานผลิตแห่งหนึ่งเพื่องานการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ ลูกค้าให้สำรวจและขอทราบพื้นที่ของสถานที่ที่มีอยู่เพื่อยืนยันว่ามีพื้นที่ว่างเท่าใดในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ และมีอุปสรรคใดบ้างในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ใหม่เข้ามาในพื้นที่ เพื่อทำการวางแผนการเคลื่อนย้ายอุปสรรคนั้น และดูแนวท่อของการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ให้เป็นไปตามแผนการออกแบบ ความท้าทาย: ลูกค้าขาดข้อมูลที่จำเป็นในการจัดการกระบวนการย้ายอุปกรณ์ ซึ่งก็คือ as-built drawing มีการเพิ่มเติมและย้ายเครื่องจักรขนาดใหญ่ อุปกรณ์ขนาดใหญ่ หลายเครื่อง ไม่มีการ Update Drawing ให้เป็นปัจจุบัน จึงไม่สามารถนำ Drawing เวอร์ชั่นปัจจุบันมาใช้งานได้ และการที่ลูกค้าจะวัดภาคสนามหน้างานเองด้วยเครื่องมือที่เขามีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้เวลานานเกินไป 3D LASER SCANNER Solutions: ภายในเวลาสองวันที่ไซต์งานโดยไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายผลิตของลูกค้า ทีมงานวาลิด
ข้อมูล point cloud 3D ที่ได้หลังการสำรวจด้วยกล้องเลเซอร์สแกนสามมิติ เมื่อทำการสำรวจมาแล้ว จะได้เป็นข้อมูลแบบ point cloud 3D เป็น file นามสกุล *.rcp หรือ นามสกุลของโปรแกรม AutoDesk Recap สามารถนำมาเขียนกับ โปรแกรมของค่าย AutoDesk ได้ทุกโปรแกรม เช่น AutoCAD, Revit ซึ่งในโปรแกรม Recap เป็นโปรแกรม viewer และ measure เบื้องต้นใส่ label ได้ ส่วนใหญ่จะใช้ ดูภาพรวม และ presentation สิ่งที่เราสแกนมา ถ้าจะทำแบบ แนะนำให้ทำต่อในโปรแกรมเขียนแบบที่กล่าวมา ขั้นตอนง่ายและไม่ซับซ้อน ใช้เทคนิคดังนี้ นำกล้อง FARO FOCUS ไปสแกนงาน 3 มิติ (แทนการวัดแบบปกติ) ได้ข้อมูลสำรวจมาเปิดใน Recap เพื่อทำการวัด ทำแบบ ใน
สำหรับราคาค่าสำรวจ เราคิดเป็นโครงการที่สามารถทำเสร็จได้ภายในกี่วัน เรื่องพื้นที่ ในแต่ละวัน แต่ละโครงการนั้นสามารถสแกนได้ไม่เท่ากัน เช่น ใน 1 วัน มีการสแกนเก็บแบบ Asbuilt warehouse ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งๆ ได้ พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร กว่าๆ แต่ขณะที่ใน 1 วันสแกน Asbuilt ห้องแถว 3 คูหา คูหาละ 3 ชั้น ซึ่งเป็นห้อง เล็กๆ ในแต่ละชั้นนั้นซอยไปย่อยอีกหลายห้อง ซึ่งคิดเป็น พื้นต่อชั้น 375 ตาราง x 3 ชั้น = 1125 ตารางเมตร ได้ประมาณเท่านี้ สรุปคือ เกณฑ์ในการคิดราคาสำหรับการประเมินค่าสำรวจ จะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนแต่ละพื้นที่ และคำนวณกลับมาว่าพื้นที่นั้นๆจะใช้เวลาทำงานให้เสร็จภายในกี่วัน ซึ่งการประเมินงานต้องดูที่ความซับซ้อนของพื้นที่หน้างานนั้นๆ และโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ นำมาคำนวณราคา
เมื่อทำการสำรวจมาแล้ว ผลออกมาจะได้เป็นข้อมูล point cloud 3D เป็น file นามสกุล *.rcp หรือ (นามสกุลของโปรแกรม AutoDesk Recap) ซึ่งสามารถนำมาเขียนใช้งานร่วมกับ โปรแกรมของค่าย AutoDesk ได้ทุกโปรแกรม เช่น AutoCAD 3D,Revit,NavisWorks,3DMAX แต่ในส่วนของ Sketup ยังไม่สามารถใช้ได้ ต้องมี Plug-in เสริม